ใช้แนวคิด PDCA บริหารองค์กรให้อยู่รอด
PDCA เป็นแนวคิดหนึ่ง ที่ไม่ได้ให้ความสำคัญเพียงแค่การวางแผน แต่แนวคิดนี้เน้นให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบ โดยมีเป้าหมายให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แนวคิด PDCA ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกโดย Walter Shewhart ซึ่งถือเป็นผู้บุกเบิกการใช้สถิติสำหรับวงการอุตสาหกรรม และต่อมาวงจร PDCA ได้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย มากขึ้น เมื่อมีผู้ที่เชี่ยวชาญด้านการบริหารคุณภาพ อย่าง W.Edwards Deming ได้นำมาเผยแพร่ ให้เป็นเครื่องมือสำหรับการปรับปรุงกระบวนการ วงจรนี้จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า “Deming Cycle”
มาถึงวันนี้หลาย ๆ คนรู้จักกับวงจร PDCA หรือ Deming Cycle โดยเฉพาะในแวดวงของการทำงาน มีการนำ PDCA เข้ามาประยุกต์ใช้ทั้งการทำงานประจำ และการปรับปรุงงาน
โครงสร้างของ PDCA ประกอบด้วย
กรณีศึกษา : โรงขนมจีนขนาดเล็กแห่งหนึ่งภายในจังหวัดร้อยเอ็ด ปรับปรุงคุณภาพงานด้วยวงจร PDCA
ขั้นตอนวางแผน (Plan)
1. สำรวจการทำงานในปัจจุบันของพนักงาน พบว่าการผลิตในส่วนการทำเส้นจะมีความเร็วกว่าพนักงานจับเส้นที่อยู่ท้ายไลน์ ทำให้เส้นแช่น้ำนาน รอการจับเส้น ประกอบกับพนักงานนั่งทำงานกับพื้น ทำให้ไม่สะดวกในการเคลื่อนไหว นั่งติดที่ ทำให้ทำงานช้า ประกอบกับทางเจ้าของกิจการไม่มีการกำหนดเป้าหมายว่าต้องทำให้ได้เท่าไร เนื่องจากการผลิตในปัจจุบันต่ำกว่ากำลังผลิตจริง พนักงานจึงทำงานแบบสบายๆ ไม่เร่งรีบ
2. พนักงานจับเส้นได้ช้า ทำให้มีเวลาผึ่งลมพักเส้นให้สะเด็ดน้ำน้อย เส้นยังไม่แห้งต้องรีบห่อฟิล์มยืด เพราะจะไม่ทันเวลาส่งของ
3. ทางโรงงานมีพื้นที่ในการวางพักเส้นให้สะเด็ดน้ำไม่เพียงพอ เนื่องจากปัจจุบันจะเป็นโต๊ะวางเพียงโต๊ะเดียว เมื่อวางจนเต็มโต๊ะ ของที่วางแถวแรกจะถูกนำไปห่อฟิล์มยืด ตามด้วยแถวต่อๆไป ซึ่งการเรียงเต็ม 1 โต๊ะใช้เวลาเพียง 20 นาที ไม่เพียงพอให้เส้นเซ็ทตัว
ขั้นตอนปฏิบัติงาน (Do)
1. ให้เจ้าของกิจการสั่งทำโต๊ะสแตนเลสสำหรับให้พนักงานยืนจับเส้น โดยให้พนักงานจับเส้นที่ยืนรวมกลุ่มกันจับเส้น พนักงานยืนทำงานทำให้ทำงานได้คล่องขึ้น ทำงานได้เร็วขึ้น
2. เพิ่มจำนวนพนักงานจับเส้นให้ทันกับความเร็วของส่วนทำเส้น ทำให้จับเส้นได้เร็ว เส้นไม่อืดน้ำ
3. ให้เจ้าของกิจการเคลียร์พื้นที่โดยย้ายเครื่องจักรที่ไม่ได้ใช้งาน และสิ่งของที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตออกไป ทำให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้น จัดการกั้นเป็นห้องสำหรับพัก เส้น โดยทำโต๊ะสำหรับวางพักเส้นให้เซ็ทตัวก่อนนำไปห่อฟิล์ม มีการบันทึกว่าแต่ละชั้นเริ่มวางเวลาไหน ต้องมีเวลาพักอย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนนำไปห่อฟิล์ม
ขั้นตอนการตรวจสอบ (Check)
1. เก็บตัวอย่างสินค้าไปทดสอบดูคุณภาพ เปรียบเทียบกับข้อมูลเดิม พบว่าสินค้าสามารถเก็บได้ 2 – 3 วัน ในสภาพปกติที่อุณหภูมิห้อง โดยเส้นที่อยู่ก้นภาชนะไม่แฉะ ไม่อืด ไม่เละเป็นน้ำ เส้นมีความเหนียวนุ่ม และตลอดเวลาดำเนินงานหลังการปรับปรุง 3 เดือน พบว่าเส้นมีคุณภาพสม่ำเสมอ ไม่ถูกลูกค้าต่อว่าหรือคืนของเลย
ขั้นตอนปรับปรุง แก้ไขงานให้ดีขึ้น (Act)
1. กำหนดมาตรฐานการทำงานตามแนวทางใหม่เป็นขั้นตอนมาตรฐานในการปฏิบัติงาน ที่จะต้องทบทวนอย่างสม่ำเสมอ และอบรมให้พนักงานใหม่ทำงานตามขั้นตอนนี้
2. ปรับปรุงงานด้วยการเพิ่มเป้าหมายในการทำงาน พนักงานในส่วนจับเส้นต้องเพิ่มความเร็วในการทำงานให้สอดคล้องกับเครื่องจักร
3. ภายหลังที่เส้นมีคุณภาพดีขึ้น ลูกค้ากล้าสั่งของมากขึ้นทำให้ยอดการผลิตเพิ่มขึ้น พนักงานทุกคนต้องทราบว่าแต่ละวันจะต้องผลิตเท่าไหร่ และผลิตให้เสร็จตามเวลาก่อนส่งของ
ผลจากการปรับปรุงพัฒนางานด้วยวงจร PDCA ทำให้สินค้ามีคุณภาพดีขึ้น และมีความสม่ำเสมอ จนลูกค้ายอมรับเกิดความเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้า ทำให้ลูกค้าสั่งซื้อมากขึ้น เพราะมั่นใจว่าเก็บค้างคืนแล้วไม่เสีย ผู้บริโภคที่มาซื้อไปรับประทานหรือร้านอาหารที่มาซื้อไปขายก็สามารถเก็บได้ 2 วัน ทำให้ภายหลังการดำเนินงานทางโรงงานสามารถเพิ่มยอดการผลิตเป็นวันละ 10 – 12 ตัน เพราะสามารถขยายตลาดได้ และทางเจ้าของกิจการมีแผนจะลงทุนเครื่องจักรเครื่องที่สาม เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตเป็นวันละ 15 – 18 ตัน ซึ่งเมื่อเพิ่มกำลังผลิตจะทำให้ทางกิจการมีต้นทุนการผลิตลดลงจากค่าใช้จ่ายคงที่ที่เท่าเดิมแต่ผลผลิตได้มากขึ้น
ข้อดีของ PDCA
มีความอเนกประสงค์ : สามารถใช้ วงจร PDCA ในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่หลากหลาย ข้อดีคือ ใช้งานได้ดีในเรื่องการจัดการโครงการ การเปลี่ยนแปลงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการจัดการ
เรียบง่าย : วงจร PDCA เรียบง่ายและเข้าใจง่าย แต่ก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับการเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุงที่ยอดเยี่ยม
ข้อจำกัดของ PDCA
ไม่เหมาะกับการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ต้องมีความรับผิดชอบในระยะยาว ไม่ใช่การทำเพียงครั้งเดียวเสร็จ หากแต่เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง ดังนั้นจึงต้องมีความร่วมมือ มุ่งมั่น จากผู้บริหารระดับบนจนถึงผู้ปฎิบัติงานระดับล่าง หากปราศจากผู้นำที่มุ่งมั่น จะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาวได้
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อ้างอิง
INDUSTRY NETWORK.(2564).PDCA หัวใจสำคัญของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง,สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2564. จาก.สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ - FTPI
Goodmaterial.(2564).PDCA คือ ทุกเรื่องควรรู้ในการใช้งาน Deming Cycle ดฃเพื่อปรับปรุงคุณภาพการผลิต,สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2564. จาก.PDCA คือ ทุกเรื่องควรรู้ในการใช้งาน Deming Cycle เพื่อปรับปรุงคุณภาพการผลิต - Good Material
เนื้อหาเข้าใจง่ายเป็นประโยชน์มากครับ ดีครับ
ตอบลบเนื้อหาดีมีประโยชน์มากค่ะ มีรูปภาพประกอบและมีแหล่งอ้างอิงชัดเจน
ตอบลบแนวคิดน่าสนใจมากๆเลยค่ะ เข้าใจง่ายดีมีประโยชน์มาก
ตอบลบPDCA สามารถใช้ได้กับทุกการจัดการจริงๆ ขอบคุณสำหรับเนื้อหาดีดีนะคะ
ตอบลบ